Stem cell คืออะไร ?
สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ตัวอ่อนที่ยังไม่มีหน้าที่ของเซลล์ซึ่งสามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและเปลี่ยนแปลงเพื่อไปเซลล์อื่นๆที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น เปลี่ยนกลายเป็นเซลล์เนื้อเยื่อชนิดต่างๆ เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือด
Stem cell แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความสามารถในการพัฒนา คือ
1) Totipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆได้ทุกเซลล์ ได้แก่ เซลล์ไข่ที่มีการปฏิสนธิแล้ว (single cell embryo)
2) Pleuripotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นได้หลายแบบ เช่น embryonic stem cell
3) Multipotent/Unipotent cellคือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งได้เท่านั้น เช่น เซลล์จากเลือดสายสะดือ (cord blood stem cell) เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (hematopoietic stem cell)
โดยปกติแล้วในร่างกายของเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะมี stem cell อยู่แล้ว เพราะในเวลาที่เราบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย เซลล์ของเราก็จะต้องเกิดการบาดเจ็บหรือตายไปด้วย stem cell ก็จะทำหน้าที่ซ่อมแซมบาดแผลและสร้างแซลล์ใหม่เพื่อมาทดแทนแซลล์เก่าที่ตายไป
สำหรับ stem cell ที่มีการนำมาใช้ทางการแพทย์นั้น มีการนำมาจากหลายรูปแบบ ทั้งแบบใช้เซลล์ของเราเอง (autologous) ใช้เซลล์ของคนอื่น (allogeneic) หรือใช้เซลล์ของสัตว์ (xenotherapy) เช่น embryonic stem cell ได้มาจากตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้ว, bone marrow stem cell ได้มาจากไขกระดูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ stem cell มาใช้ในการรักษาโรคหลายอย่าง เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รักษาอาการการบาดเจ็บของอวัยวะ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน เป็นต้น
ในด้านความงามนั้น ก็มีการศึกษาวิจัยและนำ Stem cell มาใช้อย่างมากเช่นกัน โดยที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันได้แก่ เซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ร่างกาย หรือ Mesenchymal stem cells (MSCs) ซึ่งสามารถเก็บได้จาก ไขกระดูก รก หรือไขมัน
MSCs ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ร่างกาย มีความสามารถในการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์อื่นๆได้หลายชนิด เช่น เซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์ไขมัน เซลล์กล้ามเนื้อ จึงเหมาะกับการนำมาใช้ฉีดบริเวณใบหน้าเพื่อช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพของผิวหน้า ย้อนอายุผิวให้กลับมาดีดังเดิม หรือสามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกาย ต้านการอักเสบต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และปรับสมดุลภูมิต้านทานของร่างกาย
MSCs ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเซลล์ที่มีการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองที่ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจโรคและฆ่าเชื้อเป็นอย่างดี
สำหรับ MSCs มีข้อดีคือสามารถฉีดข้ามคนได้ (allogeneic) โดยไม่เกิดการปฏิเสธเนื้อเยื่อในครั้งแรก เนื่องจากเป็นเซลล์ที่ยังไม่มีการแสดงออกจึงไม่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานที่จะทำให้เกิดการต่อต้าน MSCs ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งเซลล์ที่ผิดปกติหรือกลายพันธุ์ได้อีกด้วย
MSCs ที่นำมาใช้ฉีดบริเวณใบหน้านั้น จะแนะนำให้ฉีดเริ่มต้นที่ 5-10 ล้านเซลล์ทั่วบริเวณใบหน้า และ 20 ล้านเซลล์ ขึ้นไป สำหรับฉีดเข้าร่างกาย ระยะเวลาที่เริ่มเห็นผลการรักษาจะอยู่ที่ประมาน 1-4 สัปดาห์ขึ้นกับคนไข้แต่ละคน และผลการรักษาจะขึ้นกับจำนวนเซลล์ที่ฉีด คุณภาพของเซลล์ที่นำมาฉีด และการปฏิบัติตัวของคนไข้เอง แต่โดยทั่วไปจะอยู่นานได้ตั้งแต่ 6-12 เดือน
ข้อดีของการนำ MSCs มาใช้ทางการแพทย์
ผิวหนัง สร้างเซลล์ผิวหนังใหม่เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากบาดแผล, แผลเป็น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนขึ้นใหม่ ผิวแน่นกระชับ รูขุมขนเล็กลง และป้องกันปัญหาด้านผิวพรรณที่เกิดจากรังสียูวี ความเสื่อมชรา ริ้วรอยและสร้างสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ
ระบบประสาท สร้างเซลล์ประสาทใหม่แทนเซลล์ประสาทเดิม หรือใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ไขสันหลังบาดเจ็บ ไขสันหลังอักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต จอประสาทตาเสื่อม
กระดูกและเส้นเอ็น โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ , โรคข้อเสื่อมต่างๆ เช่น ปัจจุบันใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูข้อเข่าเสื่อม สเต็มเซลล์สามารถเร่งการซ่อมแซมการสึกกร่อนของกระดูก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย เส้นเลือดหัวใจอุดตัน
ภาวะ/โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น SLE หรือโรคพุ่มพวง มีรายงานว่าการใช้สเตมเซลล์ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ลดการใช้ยาได้ , โรคหอบหืด, โรคภูมิแพ้ เป็นต้น
โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกร่วมกับความเสี่ยงจากพันธุกรรม เบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่นแผลเบาหวาน เบาหวานที่ไต สเต็มเซลล์สามารถนำมาใช้ในการรักษาแผลเบาหวานให้หายได้
คำแนะนำก่อนทำสเต็มเซลล์
1.งดรับประทานยาที่ไม่ได้สั่งจ่ายโดยแพทย์อย่างน้อย 7 วันก่อนทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
2.งดรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 7 วันก่อนทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
3.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
4.งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 7 วันก่อนการทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
5.งดวัคซีนหรือการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
6.ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินหรือ Cardio ประมาณ 20-30 นาที อย่างน้อย 2 วันก่อนทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ และงดการออกกำลังกายหนัก งานสังสรรค์และความเครียด
กรณีสงสัยว่ามีอาการติดเชื้อเฉียบพลัน เช่น เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัด หรือท้องเสีย กรุณาแจ้งแพทย์
ผู้ดูแลให้ทราบทันที เพื่อทำการรักษาหรือเลื่อนการทำเซลล์บำบัดหากมีเหตุจำเป็น
คำแนะนำหลังทำสเต็มเซลล์
1.หลังทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ควรพักผ่อนและทำจิตใจให้สบาย ลดความเครียด
2.แนะนำให้พักผ่อนอิริยาบถใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
3.รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ย่อยง่าย และรสไม่จัดอย่างน้อย 1 เดือน
4.ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮฮล์และคาเฟอีนในปริมาณสูง แต่สามารถบริโภคเครื่องดื่มประเภท
แอลกอฮฮล์ ชา หรือกาแฟได้ในปริมาณเล็กน้อยหลังอาหารถ้าต้องการ อย่างน้อย 2 สัปดาห์
5.งดสูบบุหรี่หรือซิการ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
6.งดการตากแดดจัดเป็นเวลาต่อเนื่องกันนานๆ หรือการอาบแดดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
7.งดกิจกรรมหรือการออกกำลังกายอย่างหนัก ที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์
8.งดวัคซีนหรือยาปฏิชีวนะ ยกเว้นกรณีกรณีมีเหตุจำเป็น 1 เดือนหลังทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
9.งดการถ่าย X-Rays ยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น 1 เดือนหลังทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
การดูแลสุขภาพทั้งก่อนและหลังทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงประวัติการแพ้ยาทุกครั้ง เพื่อผลลัพธ์ในทำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ อย่างมีประสิทธิภาพ
Comments